เตมเปถั่วมะแฮะ

ถั่วมะแฮะสามารถนำมาทำเตมเปได้ โดยวิธีทำจะเหมือนเตมเปถั่วเหลือง
เนื่องจากถั่วมะแฮะแบบผ่าซีกยังไม่มีจำหน่าย จึงต้องนำถั่วมะแฮะแบบเต็มเมล็ดมาแช่น้ำ
เพื่อให้เปลือกถั่วนิ่มและลอกเปลือกออกก่อนแช่น้ำrpk-tramplin.ru

mahae2
ถั่วมะแฮะเมื่อเทียบกับถั่วเหลือง (ถั่วมะแฮะไทยมี 2 สายพันธุ์)
mahae1
ถั่วมะแฮะที่แช่น้ำนาน 1 วันจะมีรากงอกออกมา

mahae9

ภาพเปรียบเทียบถั่วมะแฮะแห้งกับถั่วมะแฮะที่แช่น้ำแล้ว

mahae10

ถั่วมะแฮะที่แช่น้ำ 1 คืนก่อนลอกเปลือกออก

mahae3
เปลือกถัวมะแฮะที่ลอกออกมาจะเหนียวและหนากว่าเปลือกถั่วเหลือง

mahae11

เปลือกมะแฮะอีกสสายพันธุ์จะสีออนกว่ารูปบน

mahae15

ถั่วมะแฮะลอกเปลือกที่แช่น้ำครบกำหนดเวลา

mahae16

ถั่วมะแฮะที่สะเด็ดน้ำจากการต้มหรือนึ่ง

mahae17

นำผงหมักเตมเปลงผสมในถั่วมะแฮะที่สุกแล้ว

mahae18

คลุกเคล้าผงหมักเตมเปให้ถั่ว จะมีนวลแป้งติดเล็กน้อย แล้วนำไปบรรจุถุงหรือห่อใบคอง

mahae19

รอบ่มเตมเปอีกประมาณ 1 วัน ถ้าอากาศเย็นอาจใช้เวลา 2-3 วัน

mahae6

mahae13

เตมเปใบตองถั่วมะแฮะ

 

mahae5

เตมเปมะแฮะหน้ามะพร้าวขูด

mahae8

ขนมเข่งไส้แตมเปมะแฮะ

mahae14

เตมเปมะแฮะทอด

mahae20

เตมเปมะแฮะอบใบตอง

mahae22

เตมเปมะแฮะกับมะพร้าวอบเทียน


ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับถั่วมะแฮะ

(นำข้อมูลส่วนนี้มาจากเวบไซต์ https://sites.google.com/site/yangthai18/thaw-ma-hae)
ชื่อสามัญ Pigeon pea , Angola pea, Congo pea[2]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cajanus cajan (L.) Millsp. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cajanus indicus Spreng.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่วFABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[2]
ถั่วมะแฮะ มี ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วแรด (ชุมพร), มะแฮะ มะแฮะต้น ถั่วแระต้น (ภาคเหนือ), ถั่วแฮ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ถั่วแระ ถั่วแระผี ถั่วแม่ตาย (ภาคกลาง), พะหน่อเซะ พะหน่อซิ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), มะแฮะ (ไทลื้อ), ย่วนตูแฮะ (ปะหล่อง), เปล๊ะกะแลง (ขมุ), ถั่วแฮ เป็นต้น[1],[5]
หมายเหตุ : ต้นถั่วแระที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกันกับถั่วแระที่ได้มาจากการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองในระยะที่ฝัก ยังไม่แก่หรือไม่อ่อนเกินไป แล้วนำมาต้มหรือนึ่งทั้งต้นและฝัก สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความเรื่อง ถั่วเหลือง

ลักษณะของถั่วมะแฮะ
• ต้นถั่วมะแฮะ จัด เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม อายุฤดูเดียวหรือหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงประมาณ 1-3.5 เมตร กิ่งแผ่ออกด้านข้างเป็นคู่ ผิวของลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเขียวหม่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีทั้งถั่วแระขาวและถั่วแระแดง พบขึ้นในที่โล่งแจ้งชายป่าเบญจพรรณ[1],[4]
• ใบถั่วมะแฮะ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ใบย่อยจะแตกออกมาตามลำต้น หรือตามกิ่งประมาณ 3 ใบ ลักษณะของใบย่อยมีขนาดเล็กเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลม คล้ายใบขมิ้นต้นหรือขมิ้นพระ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-10 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านมีขนสีขาวนวล[1],[4]
• ดอกถั่วมะแฮะ ออก ดอกเป็นช่อกระจะคล้ายดอกโสน มีดอกย่อยประมาณ 8-14 ดอก โดยจะออกตามซอกใบ ลักษณะของดอกเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกเป็นสีเหลืองมีขอบสีน้ำตาลแดง ใบประดับมีขน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 4-5 แฉก[1],[4]
• ผลถั่วมะแฮะ ลักษณะ ของผลเป็นฝักแบนยาวสีม่วงเข้มปนเขียว เป็นห้อง ๆ และมีขน ฝักหนึ่งจะแบ่งออกเป็นห้อง 3-4 ห้อง ภายในมีเมล็ดลักษณะกลมหรือแบนเล็กน้อย ห้องละ 1 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเหลือง สีของเมล็ดเป็นสีเหลือง ขาว และสีแดง[1],[4]

สรรพคุณของถั่วมแฮะ
1. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง (เมล็ด)[2]
2. ทั้งฝักมีรสมันเฝื่อนเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ทั้งฝัก)[4]
3. ช่วยลดระดับคอเลสเตรอล ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ด้วยการใช้เมล็ดนำมาต้มรับประทานเป็นของกินเล่น (เมล็ด)[2]
4. รากและเมล็ดใช้ปรุงเป็นยากินรักษาไข้ ถอนพิษ (รากและเมล็ด)[1],[4]
5. ช่วยแก้อาการไอ (ใบ)[2],[4]
6. น้ำคั้นจากใบใช้ใส่แผลในปากหรือหู (ใบ)[4]
7. ต้นและใบมีสรรพคุณเป็นยาขับลมลงเบื้องต่ำ (ต้นและใบ)[4]
8. ต้น ราก และใบมีสรรพคุณเป็นยาขับผายลม (ต้น,ราก,ใบ)[2]
9. ใบใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ใบ)[2],[4]
10. ตำรา ยาไทยจะใช้รากปรุงยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ปัสสาวะแดงขุ่น ปัสสาวะน้อย ช่วยละลายนิ่วในไต ส่วนรากและเมล็ดใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะเหลืองหรือแดง (ราก,รากและเมล็ด)[1],[2],[4]
11. ตำรายาพื้นบ้านจะใช้ทั้งต้น 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 3 ครั้ง เป็นยารักษาอาการตกเลือด แก้ไข้ทับระดู (ทั้งต้น)[4]
12. รากและเมล็ดใช้ปรุงเป็นยากินแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาน้ำเบาเหลืองและแดงดังสีขมิ้น หรือน้ำเบาออกน้อย (รากและเมล็ด)[1]
13. ใบใช้เป็นยารักษาบาดแผล (ใบ)[2]
14. ต้น และใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้เส้นเอ็นพิการ (ความผิดปกติของระบบเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ มักมีอาการเจ็บต่าง ๆ ปวดเมื่อยเสียวไปทุกเส้น ตามตัว ใบหน้า ถึงศีรษะ) (ต้น,ใบ)[2],[4]
15. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น ส่วนทั้งฝักมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น (เมล็ด,ทั้งฝัก)[2],[4]

ประโยชน์ของถั่วมะแฮะ
1. นอกจากจะนำมาใช้ในทางยาแล้ว ยังสามารถนำฝักมาตากแห้งแกะเอาเมล็ดออกมาใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือนำไปขายเป็นสินค้าได้อีกด้วย[1]
2. ชาวปะหล่อง ขมุ และกะเหรี่ยงเชียงใหม่ จะนำผลถั่วแระมารับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก[5]
3. ชาวปะหล่องถือว่ายอดอ่อนและดอกถั่วแระเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ใช้ปะพรมน้ำมนต์หรือใช้ในพิธีปลูกเสาเอกของบ้าน[5]
4. ถั่ว แระเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ในการเลี้ยงครั่งได้ดี (ทั่วไปแล้วจะใช้สะแกนา ปันแก่ พุทราป่า ลิ้นจี่ และไทร ในการเลี้ยงครั่ง) เนื่องต้นถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและกึ่งแห้งแล้ง ปลูกง่าย ทนแล้ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี หลังจากปลูกแล้วจะให้ผลผลิตประมาณ 6-9 เดือน อีกทั้งเมล็ดถั่วแระยังให้โปรตีนสูง เจริญเติบโตแข่งกับพืชชนิดอื่นได้ดี และยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินได้อีกด้วย[6]
5. นอก จากนี้ยังมีการปลูกถั่วแระเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยลดการพังทลายของหน้าดินจากน้ำฝน ซึ่งถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งที่ราบและที่ลาดชัน[6]

ถั่วที่นิยมปลูกเพื่อปรับปรุงดินโดยเฉพาะมีหลาย ชนิด เช่น ถั่วพร้า ถั่วขอ ถั่วมะแฮะ ฯลฯ ถั่วเหล่านี้รับประทานได้แต่ไม่เป็นที่นิยม ในความไม่นิยมนี้จึงเป็นที่น่าเสียดายที่เรามองข้ามถั่วมะแฮะแหล่งอาหารที่ อุดมไปด้วยโปรตีน (คิดจากส่วนที่บริโภค 100 กรัม เมล็ดสดมีโปรตีน 70% และ 19.2% ในเมล็ดแห้ง) มีกรดอมิโนจำเป็นเทียบเท่ากับถั่วเหลือง นอกจากนั้นยังมี วิตามินบีสูง
และยังอุดม ด้วย แคลเซียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แม็กนีเซียม วิตามินเอ และไนอาซิน เป็นถั่วไขมันต่ำ เหมาะกับผู้ที่ลดความอ้วน ช่วยลดน้ำตาลและลดโคเลสเตอรอลในเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วมะแฮะ ต่อ 100 กรัม
• พลังงาน 343 กิโลแคลอรี่
• คาร์โบไฮเดรต 62.78 กรัม
• ใยอาหาร 15 กรัม
• ไขมัน 1.49 กรัม
• โปรตีน 22.7 กรัม
• วิตามินบี1 0.643 มิลลิกรัม (56%)
• วิตามินบี2 0.187 มิลลิกรัม (16%)
• วิตามินบี3 2.965 มิลลิกรัม (20%)
• วิตามินบี5 1.266 มิลลิกรัม (25%)
• วิตามินบี6 0.283 มิลลิกรัม (22%)
• วิตามินบี9 456 ไมโครกรัม (114%)
• วิตามินซี 0 มิลลิกรัม (0%)
• วิตามินอี 0 มิลลิกรัม (0%)
• วิตามินเค 0 ไมโครกรัม (0%)
• แคลเซียม 130 มิลลิกรัม (13%)
• ธาตุเหล็ก 5.23 มิลลิกรัม (40%)
• แมกนีเซียม 183 มิลลิกรัม (52%)
• แมงกานีส 1.791 มิลลิกรัม (85%)
• ฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม (52%)
• โพแทสเซียม 1,392 มิลลิกรัม (30%)
• โซเดียม 17 มิลลิกรัม (1%)
• สังกะสี 2.76 มิลลิกรัม (29%)
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)


ตารางเปรียบเทียบกรดอมิโนจำเป็นระหว่างถั่วมะแฮะกับถั่วเหลือง

กรดอะมิโน (คิดเป็นกรัมต่อ 100 กรัมของโปรตีน)
ถั่วมะแฮะ ถั่วเหลือง
Cystine 3.4 1.2
Lysine 1.5 6.6
Histidine 3.8 2.5
Arginine 1.2 7.0
Aspartic acid 19.2 8.3
Threonine 2.2 3.9
Glutamic acid 6.4 18.5
Proline 5 5.4
Glycine 4.4 3.8
Alanine 3.6 4.5
Valine 9.8 5.8
Methionine 8.7 1.1
Isoleucine 7.6 5.8
Tyrosine 5 3.2
Phenylalanine 3.4 4.8
Leucine 7 7.6
ที่มา : James A. Duke. 1983. Handbook of Energy Crops. unpublished

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของถั่วแฮะ
• สาร สำคัญที่พบ ได้แก่ pectin ซึ่งเป็นใยพืช ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง, acoradiene, allantoin, α-amyrin, arabinitol, benzoic acid, butyrospermol, caffeic acid, cajaflavanone, cajasoflavone, cajaminose, cajanin, cajanol, cajanone, cajanus cajan lectin, cajanus cajan phyyoalexin 3, campesterol, para-coumaric acid, cycloartanol, 24-methylene, cycloartenol, cyclobranol, daidzein, daucosterol, erremophilene, erythritol, euphol, ferulic acid, flavone, iso: 2-5-7, trihydroxy: 7-O-β-D-glucoside, formononetin, galactinol, genistein, gentisic acid, glucitol, glycerol, α-guaiene, β-guaiene, n-hentriacontane, α-himachalene, hydrocyanic acid, inositol,myo, laccerol, lanosterol, 24-dihydro, 24-methylene, longistylin A, longistylin C, lupeol, mannitol, naringenin-4-7-dimethyl ether, parkeol, pinostrobin, protocatechuic acid, simiarenol, β-sitosterol, stigmasterol, stilbene, tannin, taraxerol, threitol, tirucallol, uronic acid, L-valine, vanillic acid,vitexin, wighteone,iso, xylitol, xylos[2]
• ฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยาที่พบ ได้แก่ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเลือด ต้านไวรัส ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ (เป็นภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน ทำให้เกิดความเป็นปกติทางโภชนาการต่าง ๆ) ยับยั้งการย่อยโปรตีน ยับยั้ง txpsin และ chymotrypsin[2],[3]
• จา การทดสอบความเป็นพิษ พบว่า เมื่อฉีดสารสกัดจากเมล็ดถั่วแระต้นด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าช่องท้องของหนูถีบจักร หนูสามารถทนยาได้ถึง 1 กรัมต่อกิโลกรัม[2]
• เมื่อ ปี ค.ศ.1970 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการศึกษาผลในการลดไขมันของถั่วแระ โดยทำการทดลองในหนูทดลองที่ให้อาหารไขมันสูงจนเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ใช้ถั่วนิดต่าง ๆ ให้หนูทดลองกิน ได้แก่ ถั่วแระ ถั่วดำ ถั่วแดง และถั่วเขียว นาน 3 เดือน ผลการทดลองพบว่าถั่วทั้ง 4 ชนิด มีผลทำให้ไขมันในเลือด, ระดับ phospholipid ในตับ และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง[2]
• เมื่อ ปี ค.ศ.1973 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้พืชสมุนไพรหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดจาเมล็ดถั่วแระ สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้[3]
• เมื่อ ปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศจีน ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันของถั่วแระต้น โดยพบว่าในถั่วแระต้นมีสาร stibenes โดยใช้ทำการศึกษาดลองในหนู (Kunming mice) ใช้ระยะเวลาการทดลอง 4 สัปดาห์ แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม, กลุ่มที่ 2 ให้สารสกัดถั่วแระต้น 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน, กลุ่มที่ 2 ให้สารสกัดถั่วแระต้น 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ส่วนกลุ่มที่ 4 ให้สาร simvastatin ผลการทดลองพบว่าหนูกลุ่มที่ 2 มีระดับคอเลสเตอรอลลดลง 31.4% ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 22.7% โดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.01[2]

References
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ถั่วแระต้น”. หน้า 331-332.
2. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ถั่วแระต้น” หน้า 96-97.
3. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ถั่วแระต้น”. หน้า 85-86.
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ถั่วแฮ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [14 ธ.ค. 2014].
5. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ถั่วแระ, ถั่วมะแฮะ”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [14 ธ.ค. 2014].
6. ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “ต้นถั่วแระ ทางเลือกใหม่ในการเลี้ยงครั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phtnet.org. [14 ธ.ค. 2014].

ประวัติเตมเป

ประวัติเทมเป้ในประเทศไทย
จากนักวิชาการสู่ชุมชน
ความสนใจเกี่ยวกับเตมเปในประเทศไทยในแวดวงวิชาการมีมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นการทำเตมเปถั่วลิสง โดยเริ่มจากทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่น ลาวัณย์ ไกรเดช (2519), (2530) ทำวิจัยการผลิตเตมเปจากถั่วเขียวถั่วลิสง วิชัย หฤทัยธนาสันต์ และคณะ (2534) ทำวิจัยเรื่องผลเวลาและรูปแบบในการบ่มเตมเปถั่วลิสง สุจินดา สุวรรณกิจ (2534) ทำ วิจัยเรื่อง การผลิตเตมเปถั่วลิสงระดับอุตสาหกรรมในครัวเรือน สุภางค์ เรืองฉาย (2538) ทำวิจัยเรื่องการศึกษาการผลิตหัวเชื้อเตมเประดับห้องปฏิบัติการเพื่อใช้การ ผลิตเตมเปถั่วลิสง.สุชาดา สังขพันธุ์ และคณะ (2541) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวตังหน้าตั้งสำเร็จรูปจากเตมเปข้าว ถั่วลิสง และงา
ส่วน ภาควิชาชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยี่พระจอมเกล้า วราวุฒิ ครูส่ง (2529) เขียนบทความแนะนำเตมเปในวารสาร เกษตรพระจอมเกล้า ดุษณี ธนะบริพัฒน์และคณะ มีงานวิจัยในปี 2539 เกี่ยวกับความปลอดภัยของเตมเปจากสารอะฟาท็อกซิน และพัชนี รัตนสมบัติ (2545)วิจัยการทำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผา เสริมโปรตีนและวิตามินบี 12 จากถั่วเหลืองหมัก.(ใส่เตมเป)
ส่วน วงการวิชาการทางภาคเหนือ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สุกัญญา เปลี่ยนทรัพย์.(2536.) การผลิตเตมเปถั่วลิสง สุจินดา และ อิศรพงษ์(2543) ทำเรื่องการใช้ rhizopus oligosporus ใน การผลิตเตมเปถั่วลิสง.ชฎาพร บัวชุม. (2550) การปรับสภาพความเป็นกรดของถั่วเหลืองสำหรับทำเตมเป ล้านนา วรรณภาและอรรณ (2551) ทำวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เตมเปถั่วแดงเชิงการค้าในรูปขนมขบเคี้ยว
ส่วนคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่การเกษตร มหาวิทยาลัยเทตโนโลยีราชมงคล วายูน พูลเพิ่ม (2545) แบคทีเรียแลคติคในกระบวนการผลิตเตมเป.
ทางภาคกลาง คณะเทคโนโลยี่การเกษตรและเทคโนโลยี่อุตสาหการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศิริเพ็ญ (2552) ทำวิจัยเรื่องแนวทางใหม่ในการแปรรูปเตมเป โดยใช้ ข้าวโพด เผือก มันฝรั่ง
ทาง ด้านนักเรียนมัธยมหลายแห่งมีการนำเตมเปไปทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย(นักเรียนม.5) ส่วนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยนำมาเผยแพร่การทำเตมเปในสื่อออนไลน์ youtube
ทาง ด้านการเผยแพร่ชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการอบรมการทำเตมเป แต่ได้รับความสนใจน้อยจึงงดจัดไป ส่วนทางเชียงใหม่ การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีอาหารหมักระดับชุมชน.ปี 2549 โดยคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายเพราะคนไทยอาจ ไม่คุ้นเคยกับถั่วหมักเตมเปในการนำไปปรุงอาหาร
ต่อ มาค่าครองชีพสูงขึ้น เนื้อสัตว์มีราคาแพง ปลายปี 2554 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่การเกษตร ม.เทคโนโลยี่ราชมงคลล้านนา จ. ลำปาง อบรมการเตรียมอาหารจากเตมเปให้กับชุมชนบ้านดงม่อนกระทิง เทศบาลนครลำปาง เพื่อให้ชุมชนทำอาหารแปรรูปจากเตมเป คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคโนโลยีจุลินทรีย์อาหารหมักระดับชุมชน เมื่อเดือน มีนาคม 2555 ส่วนสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งประเทศไทย จัดอบรมการผลิตเตมเป เมื่อเดือนมิถุนายน 2555 รพเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์จัดนิทรรศการเผยแพร่การทำเตมเป้ในงานมหกรรมสุขภาพไทย 2556 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จัดงานมหกรรมเตมเปเพื่อสุขภาพร่วมกับอบต.มะขามเตี้ย 2558
มีการจัดตั้ง “ชมรมฅนรักเตมเป” ในปี 2559 จัดบูธเพื่อเผยแพร่เตมเปในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และร่วมกับกลุ่มพัฒนาแม่บ้านเกษตรกรและเคหกิจเกษตร กองพัฒนาเกษตรกรอกรมส่งเสริมการเกษตรเผยแพร่เตมเปถั่วมะแฮะในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและผู้สนใจ
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีจัดอบรมการทำเตมเป ให้กับประชาชนทั่วไป ต้นปี 2560 สมาคมผู้นำเข้าถั่วเหลืองร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาอาหาร จัด workshop เกี่ยวกับเตมเป โดยวิทยากรจากอินโดนีเซีย ปี 2561 มีผู้สนใจเตมเปมากขึ้น ทั้งผู้้ปฏิบัติธรรมด้านพุทธศาสนา ชมรมเพื่อสุขภาพต่างๆ

ชุมชนมังสวิรัติและชาวต่างชาติที่มาพำนักในประเทศไทย
การบริโภคเตมเปในส่วนผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติมีในกลุ่มปฐมอโศก(สันติอโศก)และซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง แต่เนื่องจากผู้ขายตั้งราคาค่อนข้างสูงและการเก็บรักษายุ่งยากมีอายุสั้น รวมทั้งการนำไปแปรรูปอาหารไม่เป็นที่แพร่หลาย ทางผู้ผลิตจึงหยุดจำหน่ายไป และในปี 2557 เฮลตี้เมท เริ่มผลิตเตมเปแบบแช่แข็งจำหน่ายปลีกในซุปเปอร์มาเกตชั้นนำ ปี 2561 ทางกลุ่มอโศกเริ่มกลับมาสนใจทำเตมเปเพื่อบริโภคและจำหน่ายในกลุ่ม
แต่ในแหล่งที่มีชาวต่างชาติอยู่มาก เช่น ย่านถนนข้าวสาร เกาะพะงัน เชียงใหม่ มีเตมเปขายให้กับชาวต่างชาติที่รับประทานมังสวิรัติและรู้จักเตมเปมาจากประเทศที่ตนเองอยู่ เช่นเดียวกับร้านขายอาหารปลอดสารพิษเกษตรอินทรีย์ ตลาดนัดเจเจ ที่เชียงใหม่ก็มีเตมเปสด เตมเปแปรรูป เช่น ก๊วยเตี๋ยวลุยสวน นอกจากนี้มีการจำหน่ายเตมเปสดออนไลน์ของเวบไซต์ www.wat30000.com การจากอาหารที่ทำจากเตมเปนั้นค่อนข้างจะมีน้อย ในวงจำกัด เช่น ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ร้านอโณทัย แถวโรงพยาบาลพระราม 9 จะมีเมนูอาหารที่ทำจากเตมเปเป็นประจำ

พ.ศ.2562 เตมเปเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในกลุ่มคนรักสุขภาพและชาว vegeterian มีผู้ผลิตเตมเปรายย่อยมากขึ้น กระจายตามจังหวัดต่างๆ ส่วนหนึ่งมีช่องทางการจำหน่ายทาง social media และที่วางขายตามห้างสรรพสินค้ายังมีจำกัด

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) เตมเปมีแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะสามารถซื้อได้ผ่านผู้ขายออนไลน์จำนวนมาก และมีวางจำหน่ายตามร้านอาหารสุขภาพมากขึ้น รวมถึงมีขายในห้างสรรพสินค้าจากผู้ผลิตหลายราย มีผู้จำหน่ายออนไลน์เริ่มตั้งกลุ่มผู้สนใจเตมเปเพื่อแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องคุณภาพของเตมเปยังไม่ได้มาตรฐานและมีขึ้นทะเบียนอย.ไม่กี่ราย

กันยายน พ.ศ. 2565 คณะทำงานชมรมคนรักเตมเปแห่งประเทศไทย ได้จัดทำงานวิจัย เรื่อง”การศึกษาคุณภาพของหัวเชื้อเตมเปที่มีจำหน่ายในท้องตลาด” และได้เผยแพร่งานวิจัยบนหน้าเวบไซต์ wat30000.com

ประวัติเตมเปในต่างประเทศ

เตมเป้เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวอินโดนีเซีย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าในศตวรรษที่ 16 หนังสือชื่อ Serat Centhini ระบุว่ามีการผลิตและจำหน่ายเตมเปแล้ว มีการคาดคะเนว่าเตมเปอาจมาจากการเลียนแบบถั่วหมักของคนจีนที่ใช้เชื้อรา Aspergillus แต่เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของอินโดนีเซียอาจไม่เหมาะที่จะใช้เชื้อราดังกล่าว จึงมีการใช้เชื้อรา Rhizopus เป็นหัวเชื้อในการหมักถั่วเหลือง ในปี ค.ศ. 1875 ชาวยุโรปที่อยู่ในอินโดนีเซียรู้จักเตมเปเพราะมีปรากฏในพจนานุกรมภาษา Javanese-Dutch ใน ตอนแรกเตมเปนิยมรับประทานบนเกาะชวา หลังจากนั้นแพร่หลายไปทั่วประเทศ และทั่วโลกในศตวรรษที่ 20 และเตมเปเดิมใช้หมักในใบตองก็เริ่มใช้ถุงพลาสติกแทนตั้งแต่ปี ค.ศ.1970
ประเทศทางยุโรปรู้จักเตมเปจากชาวเนเธอร์แลนด์ที่เคยอาศัยอยู่ในอินโดนีเซีย ปีค.ศ. 1895 นักชีวิวทยาและนักเคมีชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ Prinsen Geerligs ได้ แยกเชื้อและค้นพบเอกลักษณ์ของเชื้อราที่ใช้หมักเตมเป ร้านค้าที่จำหน่ายเตมเปในตอนแรกจะเป็นชาวอินโดนีเซียที่อพยพไปอยู่ที่ประ เทศเนเธอร์แลนด์ ในปี คศ. 1931 J.J. Ochse เขียนหนังสือชื่อ “Vegeables of the Dutch East Indies” ซึ่ง เป็นหนังสือเกี่ยวกับเตมเปในภาษาอังกฤษเล่มแรก และต่อมาบทความเกี่ยวกับเตมเป 7 หน้ากระดาษที่เป็นที่นิยมมากในปีคศ. 1982 เขียนโดย Le Compas
ในประเทศสหรัฐอเมริการู้จักเตมเปตั้งแต่คศ. 1946 บทความ “Possible Sources of Proteins for Child Feeding in Underdeveloped Countries” ตีพิมพ์ในวารสาร American journal of clinical nutrition ต่อมาในปี คศ.1960 นักวิจัยในมหทวิทยาลัย Cornell(New york) และ USDA Northen regional research center (Illinois) สนใจทำวิจัยเกี่ยวกับเตมเปหลายเรื่อง และปี คศ.1961 Mary Otten เริ่มผลิตเตมเป มีการแนะนำเตมเปในกลุ่มเกษตรกรในชุมชนต่างๆ เช่น ในรัฐ Tennessee เมือง Summertown มีการจำหน่ายเตมเปในเชิงพาณิชย์ในปีคศ. 1975 โดย Mr. Gale Randell ที่เมือง Undadilla รัฐ Nebraska ปีคศ. 1977 มีบทความเรื่อง Prevention เขียนโดย R.Rodale ทำ ให้ผลิตภัณฑ์ของเขาเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น และปีคศ. 1980 เริ่มมีการผลิตเตมเปในระดับอุตสาหกรรม และมีการตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับเตมเปต่อเนื่องมา จนถึงปีคศ. 1983 มีการผลิตเตมเปเพื่อการค้ามากถึง 1 ล้านก้อน
สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศซิมบับเว ในปีคศ. 1940 Van Veen พยายาม แนะนำเตมเปกับพลเมืองประเทศนี้เพื่อเป็นทางเลือกในการได้รับอาหารโปรตีน ราคาถูก แต่ประเทศต่างๆทั้งในอัฟริกาและอเมริกาใต้ การบริโภคเตมเปอาจไม่เป็นที่แพร่หลายนักเพราะคนท้องถิ่นไม่คุ้นเคยกับอาหาร ที่ทำจากเตมเป
แนวโน้มในอนาคต ทั้งทางยุโรปและอเมริกาสนใจเตมเปมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่สนใจด้านสุขภาพและคนที่รับประทานมังสวิรัติ

ที่มา http://www.tempeh.info/tempeh-history.php

ผู้จำหน่ายเตมเป

ชื่อผู้จำหน่าย Tempe starter หรือผงเชื้อเตมเป ให้ดูรายละเอียดในหัวข้อ “ผงเชื้อเตมเป”

ภาคเหนือ
จ.เชียงใหม่

1.คุณกอบเกื้อ อ.พร้าว จ. เชียงใหม่ มีประสบการณ์เคยอยู่อินโดนีเซีย
จำหน่ายเตมเปใบตอง จัดส่งทั่วประเทศ

เบอร์ 081-8813964 (AIS) และ 0962643361 (TRUE)
Facebook = Guea Kobguea
IDline = chicosmos
Mail = kosmos4444@gmail.com

2. คุณฝน จำหน่ายเตมเปลุยสวน และเตมเปสด ที่ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ ถ.เลียบคลองชลประทาน (ห่างจากกาดต้นพยอมประมาณ 2 กม. ไปทางพืชสวนโลกเชียงใหม่)ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี 11.00 น. – 17.00 น. เบอร์ติดต่อ 087-6968451

3. คุณบอล เชียงใหม่
IDline 0812592597 (balltempe)
Facebook : balltempe

ผลิต : จำหน่าย
-เตมเปสด
-กล้าเชื้อเตมเป
-อุปกรณ์เจาะรูถุง-บรรจุเตมเป
-น้ำพริกย้อย เตมเป
-กราโนล่า เตมเป
* มีวางจำหน่ายในเมืองเชียงใหม่ อาทิ
-ชมร. เชียงใหม่ , AGGIE HUT มช., ตลาดเจเจมาร์เก็ต, ร้านพันพรรณ วัดสวนดอก

4. อาจารย์ฉัตรชัย กิติพรชัย จำหน่ายเตมเปอบกรอบ เตมเปผง ซึ่งเป็นอาหารเสริมโปรตีน ใช้ผสมในผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพต่างๆ เช่น เครื่องดื่มงา ขาวกล้องงอก และอื่นๆ เบอร์ติดต่อ 087-7256843

จ.ลำปาง
1. คุณปรีชา จำหน่ายเตมเปแปรรูป เช่น น้ำพริกเตมเป เตมเปสามรส เบอร์ติดต่อ 099-8914985

ภาคกลาง
จ.นครปฐม

1. คุณจอย จำหน่ายเตมเปทอด เบอร์ติดต่อ 083-1997635

กรุงเทพ
1. คุณวสันต์ จำหน่ายเตมเปสด
เบอร์ติดต่อ 096-4560749
ID line = Tevwja

ภาคใต้
จ.ปัตตานี

1. คุณวิชาญ จำหน่ายเตมเปสด ส่งทั่วประเทศ

1. เตมเปสดแบบแช่แข็ง

เริ่มวางจำหน่ายครั้งแรก 27 สิงหาคม 2559ณ TOPS market, Central Festival Hatyai, Robinson Hatyai
ราคา 45 บาท น้ำหนัก 200 กรัม

ภาคกลาง เริ่มวางจำหน่ายครั้งแรก 25-27 กันยายน 2562 ณ TOPS markat 12 สาขา กรุงเทพฯ นนทบุรี
ราคา 45 บาท น้ำหนัก 200 กรัม
มีนาคม 2563 เพิ่ม 8 สาขา ในกรุงเทพและปริมณฑล
ตุลาคม 2563 เพิ่มจุดจำหน่ายที่ Healthful the Crystal (เครือเซ็นทรัล) ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม


เริ่มวางจำหน่ายที่ Golden place 4 สาขา ตั้งแต่ 12 ตุลาคม 2563


1. สาขาถนนสุโขทัย
2. สาขาพระราม 9
3. สาขาโรงพยาบาลศิริราช
4. สาขาศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ หลักสี่

Villa marget
เริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ 21 ตุลาคม 2563
ทั้ง 34 สาขา ทั่วประเทศ

2. เตมเปแกงกะหรี่ ขนาด 180 กรัม (Tempe curry 180 g)

34

ผลิตและจัดจำหน่ายโดย
www.tempebavashithailand.com และ
Instragram : tempe.bavashi
Youtube : BavashiThailand

อุปกรณ์สำหรับเตมเป

แท่นเจาะรูถุงพลาสติคสำหรับบรรจุเตมเป
1. แบบมีด้ามจับ ราคา 450 บาท

2. แบบไม่มีด้ามจับ ราคา 400 บาท

สนใจติดต่อ
คุณบอล
FB : Ball cm
Line ID : 0812592597

Pages:«123